Thai Boxing Sponsored
Categories: มวยสากล

กีฬา – ‘บิ๊กตู่’ชูมวยไทยสู่สากล – กระทรวงกีฬาไม่ลืมนักมวยที่ตกยาก – หนังสือพิมพ์แนวหน้า

Thai Boxing Sponsored
Thai Boxing Sponsored

วันศุกร์ ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565, 20.25 น.

เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2565 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 2 กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการกีฬามวย ครั้งที่ 1/2565  โดยมี ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. นายโชติ   ตราชูปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและคณะกรรมการฯร่วมประชุม  สาระสำคัญ ที่ประชุม รับทราบผลการให้ความช่วยเหลือสวัสดิการแก่บุคคลในวงการกีฬามวย ประกอบด้วย

ให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน แก่นักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและหัวหน้าค่ายมวยที่ได้รับสวัสดิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตั้งแต่เดือน มิถุนายน – กันยายน 2564 รวมทั้งสิ้น 4,459,000 บาท และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในเดือนตุลาคม 2564 เป็นเงิน 1,200,000 บาท

ให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน ตามมติคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ในการประชุม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ได้ดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน โดยอนุมัติให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน มีกำหนดระยะเวลา 4 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2568 จำนวน 6 ราย ได้แก่ นายเขื่อนแก้ว ยาวิชัย (สิงห์คะนอง สิงห์วัลลภ), นายสงัด จันทร์ตา (หัวหน้าค่าย ส.บริสุทธิ์), นายสิน เปียทอง (หัวหน้าค่ายมวย ศิษย์ประกายฟ้า) , นายชนะ บุตรมณี (หัวหน้าค่ายมวย ส.สมรลักษณ์) , นายธนากร สอนดี (หรือดีเซลน้อย  ช.ธนะสุกาญจน์อดีตนักมวยฉายาขุนเข่าเสาโทรเลขเมื่อ40ปีก่อน) และนายสุวรรณ ศิลปายะ (อ๊อดน้อย ส.วิไลพร)

ให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเพื่อเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน ตามมติคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง ในการประชุม ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2564 ได้ดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอรับการสงเคราะห์เป็นไปตามระเบียบหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน โดยอนุมัติให้ความช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีพเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูรายเดือน มีกำหนดระยะเวลา ๔ ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2568 จำนวน 23 ราย ได้แก่ นายบุญจันทร์ หวลระลึก (รณภพ สิงห์นาสาม) , นายสุพิน ศรีตัมภวา (พินน้อย ลูกสุรินทร์) , พระวิโมกข์ บุติมาลย์ (คงศักดิ์ เมืองสุรินทร์) , นายสำเร็จ จันทร์หอม (เผด็ดศึก สิงห์ชายแดน) , พระบุญเรือง จันแดง (สักเสรี ลูกเจ้าพ่อมเหศักดิ์) , นายสมพงษ์ จินดาศรี (ชนะพล ศิษย์สวนไผ่) , นายเหลือง ครองชื่น (ดำรงศักดิ์ สิทธิ์ธนูสัก) , นายใบ สุดเสียงสังข์ (เพียงชัย ลูกสุรินทร์) , นายสุชาติ มีปัญญา (ขาโต้ ศิษย์ลิงลม) , นายศรีวัน สุต๋า (สองพร ขุนพลลี้) , นายสุขุม อาจตระกูล (สุขุม สิงห์จักรวรรดิ) , นายสุขชัย มนตรีชัยวิวัฒน์ (เมฆขาว โลลิต้า) , นายเตียว แรงเริง (สมชายน้อย เดชาสิทธิ์) , นายนพดล ศรีพรหมทอง (ชูศักดิ์ สิงห์มวยไทย) , นายเสงี่ยม สดสีทอง (พลายมงคล ลูกสุรินทร์) , นายสมัคร รุ่งเรือง (เดชไทย เดชบดิน) , นายโนว ทองเจ้า (โชคโชน ศิษย์ชุมชน) , นายฮะ สำรวมจิต (สิงห์ศึก เมืองสุรินทร์) , นายสุวิทย์ วิชัยรัมย์ (ฉลองชัย เกียรติ หมู่ 9) , นายพจน์ บุญสวัสดิ์ (ใจสิงห์ สิงห์ทุ่งมน) , นายชาญ ยิ่งหาญ (ชาญตัน เมืองสุรินทร์) , นายบุญเยือม เจริญสุข (จอมตะลุย สิงห์ธรณี) , นายอำคา พันธ์ดี (ขจัดศึก ขวัญเสือไทย)

การให้ความช่วยเหลือค่าจัดการศพแก่ผู้จัดการศพของนักมวย อดีตนักมวย ผู้ฝึกสอน ผู้ตัดสินและหัวหน้าค่ายมวย โดยผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย พิจารณาอนุมัติให้ความช่วยเหลือ จำนวน 8 รายๆ ละ 15,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 120,000 บาท ประกอบด้วย นายนุกูล ประไพศรี, นายบัวลา สากุล, นายนิพนธ์ เลิศจันทร์, นายกรรณธรรม คล่องทิพย์กุล, นายอุดม สวรพันธ์, นายสมชัย ขวัญนาค, นายสุริศักดิ์ สมควรทัด, นายสิงห์โต ทุ่งเก้า

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ความเห็นชอบหลักการ และดำเนินการเป็นไปตามกฎหมาย ให้สำนักงานคณะกรรมการกีฬามวย โดย การกีฬาแห่งประเทศไทย ดำเนินการพิจารณารายละเอียดและจัดทำบันทึกความเข้าใจ MOU (Memorandum Of Understanding) ในด้านการการส่งเสริม สนับสนุน อนุรักษ์ และเผยแพร่กีฬามวย กับกองทัพบก โดยสนามมวยเวทีลุมพินี และอนุมัติหลักการให้ศึกษาความเป็นไปได้และจัดทำรายละเอียดโครงการการจัดแข่งขันมวยไทยอาชีพชิงแชมป์โลก ทั้งนี้ ให้รายงานความคืบหน้าต่อคณะกรรมการทุกระยะ ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ด้านแนวทางการพัฒนาสนับสนุนมวยไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่มในระดับท้องถิ่น ประเทศ และขยายสู่ระดับสากล โดยการพัฒนาขับเคลื่อนมวยไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าทางวัฒนธรรมไทย สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้กับประเทศต่อยอดสู่อุตสาหกรรมกีฬาในระดับโลกที่ช่วยสร้างอาชีพและสร้างรายได้ให้กับประเทศใน 2 กิจกรรม ที่สำคัญเบื้องต้น ได้แก่ การจัดการแข่งขันมวยไทยอาชีพชิงแชมป์โลก และการพัฒนาบุคลากรกีฬามวยทั้งไทยและมวยสากลอย่างเป็นระบบ

Thai Boxing Sponsored
มวยไทย

มวยไทย เป็นศิลปะการต่อสู้ของประเทศไทย มีความโดดเด่นด้านเทคนิคการกอดคอต่อสู้ ซึ่งเป็นการใช้ทั้งกายและใจ สำหรับการต่อสู้ที่ใช้ร่างกายเป็นอาวุธ โดยเป็นที่รู้จักว่าเป็น "นวอาวุธ" ซึ่งประกอบด้วยการโจมตีจากร่างกายทั้ง หมัด, ศอก, เข่า และเท้า หากมีการเตรียมพร้อมด้านร่างกายดี จะก่อให้เกิดอาวุธที่มีอานุภาพ

This website uses cookies.