ตอกย้ำความเป็นมหาอำนาจด้านกีฬาอีกครั้งสำหรับ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี”(BTU) ภายใต้การกุมบังเหียนของ “รศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล” อธิการบดีหญิงที่ทั้งเก่งและแกร่ง หลังจากที่ประกาศศักดาคว้าเจ้าเหรียญทองใน “กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย” ถึง 3 สมัยซ้อน ตั้งแต่ครั้งที่ 45-47 อีกทั้งยังมีแชมป์โลกหญิงนักกีฬาแบดมินตันอย่าง “เมย์-รัชนก อินทนนท์”
ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์
ล่าสุดชื่อเสียงทางด้านกีฬาของ “มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี” ได้กระหึ่มขึ้นอีกครั้ง เมื่อ “เทนนิส-ร.ต.พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ” วัย 23 ปี นักกีฬาเทควันโดทีมชาติไทย ในฐานะศิษย์ปัจจุบัน ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ เปิดประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการกีฬาประเทศไทย ด้วยการคว้า “เหรียญทอง” จากกีฬาโอลิมปิก 2020 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น (เลื่อนมาจากปีที่แล้วเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19) ให้กับกองทัพนักกีฬาไทยได้เป็นคนแรกและเหรียญแรก เรียกได้ว่าในวิกฤตโควิด-19 ยังมีโอกาสให้คนไทยมีความสุขใจ นับเป็นเหรียญที่สองของเธอ หลังจากเคยคว้าเหรียญทองแดงรุ่นเดียวกัน ในกีฬาโอลิมปิก 2016 ณ เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยความสำเร็จในครั้งนี้มาจากการคว้าชัยชนะอย่างน่าตื่นเต้นจากนักกีฬาแดนกระทิงดุอย่างประเทศสเปน ในการแข่งขันเทควันโด้รุ่น 49 กก.
ศึกโอลิมปิกเกมส์ 2020 ครั้งนี้ นอกจาก “เทนนิส พาณิภัค” มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ยังมีนักกีฬาทีมชาติเลือด BTU ร่วมลงแข่งขันด้วยอีก 6 คน 1. “เมย์-รัชนก อินทนนท์” นักกีฬาแบดมินตัน (ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์) 2. “บาส-เดชาพล พัววรานุเคราะห์” นักกีฬาแบดมินตัน (ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์) 3. “จูเนียร์-รามณรงค์ เสวกวิหารี” กีฬาเทควันโด (ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์) 4. “ไวน์-นวพรรษ วงศ์เจริญ” นักกีฬาว่ายน้ำ (คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา) 5. “หญิง-สุธาสินี เสวตรบุตร” นักกีฬาเทเบิลเทนนิส (ปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์) 6. “เบญ-ส.ต.ต.สุเบญรัตน์ อินแสง” นักกีฬาขว้างจักร (ปริญญาเอก คณะรัฐศาสตร์) โดยทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีได้ให้การสนับสนุนพร้อมอัดฉีดเงินรางวัลมอบให้กับนักกีฬาที่ได้รับเหรียญต่าง ๆ กันอย่างเต็มที่
สำหรับทางด้านกีฬาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรีนั้น “รศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล” อธิการบดี ได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนเป็นอย่างยิ่ง อาทิ การสร้างสปอร์ตคอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา ที่ใหญ่ที่สุดในย่านฝั่งธนบุรี เมื่อปี 2560, เซ็น MOU ร่วมกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปิดศูนย์ฝึกศักยภาพกีฬาฟุตบอล อีกทั้งยังได้เปิดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา เพื่อมุ่งเน้นที่จะผลิตบัณฑิตที่เป็นนักวิทยาศาสตร์การกีฬาที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ ตลอดจนมีสามารถในการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีโครงการและกิจกรรมทางด้านกีฬาอีกมากมายทั้งในระดับประเทศและระดับนานาชาติ
ทั้งนี้กีฬาเทควันโดหญิงทีมชาติไทยนับว่าเป็นกีฬาที่มีโอกาสลุ้นเหรียญและได้รับเหรียญพอ ๆ กับกีฬามวยสากลกับยกน้ำหนักทีมชาติไทยเช่นกัน โดยนักกีฬาหญิงที่เคยได้เหรียญโอลิมปิกเกมส์ ประกอบด้วย
1. “วิว-เยาวภา บุรพลชัย” เหรียญทองแดง รุ่น 49 กก. กีฬาโอลิมปิก 2004 กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เป็นเหรียญแรกของกีฬาเทควันโด
2. “สอง-บุตรี เผือดผ่อง” เหรียญเงิน รุ่น 49 กก. กีฬาโอลิมปิก 2008 กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เป็นเหรียญเงินแรก
3. “เล็ก-ชนาธิป ซ้อนขำ” เหรียญทองแดง รุ่น 49 กก. กีฬาโอลิมปิก 2012 กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ
4. “เทม-เทวินทร์ หาญปราบ” เหรียญเงิน รุ่น 58 กก. กีฬาโอลิมปิก 2016 เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล
5. “เทนนิส-พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ” เหรียญทองแดง รุ่น 49 กก. กีฬาโอลิมปิก 2016 เมืองริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เป็นครั้งแรกที่กีฬาเทควันโดไทยได้ 2 เหรียญในกีฬาโอลิมปิกครั้งเดียว
6.“เทนนิส-พาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ” เหรียญทอง รุ่น 49 กก. กีฬาโอลิมปิก 2020 กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
โดยเหรียญทองประวัติศาสตร์ในกีฬาโอลิมปิก โตเกียว 2020 ส่งผลให้ “เทนนิส พาณิภัค” เป็นสุดยอดนักกีฬาไทยคนที่ 3 ที่คว้าเหรียญกีฬาโอลิมปิกมากกว่า 1 เหรียญ ซึ่งนักกีฬาที่สามารถทำได้ก่อนหน้านี้ คือ “เติ้ล-มนัส บุญจำนง” ได้เหรียญทองมวยสากลสมัครเล่น รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท 64 กก. ในกีฬาโอลิมปิก 2004 และเหรียญเงิน รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท 64 กก. ในกีฬาโอลิมปิก 2008 และ “แต้ว-พิมศิริ ศิริแก้ว” 2 เหรียญเงิน ยกน้ำหนักหญิง รุ่น 58 กก. กีฬาโอลิมปิก 2012 และ 2016
ทางด้านสถิติเหรียญทองเทควันโดไทย นับเป็นเหรียญที่ 10 ในประวัติศาสตร์วงการกีฬาไทย โดย 9 เหรียญทอง ก่อนหน้านั้น ได้แก่
1. ปี 1996 เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา “สมรักษ์ คำสิงห์” มวยสากลสมัครเล่น รุ่นเฟเธอร์เวท
2. ปี 2000 เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย “วิจารณ์ พลฤทธิ์” มวยสากลสมัครเล่น รุ่นฟลายเวท
3. ปี 2004 กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ “อุดมพร พลศักดิ์” ยกน้ำหนักหญิง 53 กก.
4. ปี 2004 กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ “ปวีณา ทองสุก” ยกน้ำหนักหญิง 75 กก.
5. ปี 2004 กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ “มนัส บุญจำนง” มวยสากลชาย รุ่นไลท์เวลเตอร์เวท
6. ปี 2008 กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน “ประภาวดี เจริญรัตนธารากูล” ยกน้ำหนักหญิง 53 กก.
7. ปี 2008 กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน “สมจิตร จงจอหอ” มวยสากลสมัครเล่น รุ่นฟลายเวท
8. ปี 2016 เมืองรีโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล “โสภิตา ธนสาร” ยกน้ำหนักหญิง รุ่น 48 กก.
9. ปี 2016 เมืองรีโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล “สุกัญญา ศรีสุราช” ยกน้ำหนักหญิง รุ่น 58 กก.
ระเบิดความมันของสุดย…
สนามมวยลุมพินี ประกา…
This website uses cookies.