เส้นทางกำปั้นของ ‘ผู้พันสมจิตร’ เริ่มต้นขึ้นในวัย 8 ขวบ จากการไปเปรียบมวยที่งานวัด เพราะต้องการหาเงินมาซื้อของเล่น แต่หลังจากชกชนะในครั้งนั้น เขาก็ชกมวยที่งานวัดมาโดยตลอด เพื่อนำเงินมาจุนเจือครอบครัว
หลังเรียนจบม.3 อดีตนักชกฮีโร่ของชาวไทยก็ตัดสินใจเดินเข้าสู่สังเวียนผืนผ้าใบด้วยการต่อยมวยไทยอาชีพครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่า ‘ศิลาชัย ว.ปรีชา’ มีค่าตัวขึ้นชกอยู่ที่ 6 หมื่นบาท กับการเป็นนักมวยระดับกลางๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่หวัง เขาเลยหันหลังให้มวยไทย โดยมีเป้าหมายใหม่ที่มวยสากลสมัครเล่น และกลายเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทย กวาดแชมป์มาได้หลายรายการ ทั้งเหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2002 เหรียญทองชิงแชมป์โลก 2003 ซึ่งเขาเป็นนักชกไทยเพียงคนเดียวที่เคยได้แชมป์รายการนี้ ตามมาด้วยหรียญทองมวยทหารโลก 2007 เหรียญทองซีเกมส์อีก 4 สมัย และเหรียญทองโอลิมปิก 2008 ในรุ่นฟลายเวต 51 กิโลกรัม
แต่กว่าสมจิตรจะได้เป็นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก สุดยอดปรารถนาของนักกีฬาทุกคน เขาก็ต้องฝ่าด่านทดสอบถึง 3 ครั้ง เริ่มจากปี 2000 ที่นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย เขาไม่สามารถคว้าโควต้าในรอบคัดเลือกรอบแรก แต่ 4 ปีต่อมา เขาผ่านรอบคัดเลือกเข้าไปชกในโอลิมปิก 2004 รอบสุดท้ายที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซได้ แต่ก็ไปไม่ถึงปลายทาง จนกระทั่งปี 2008 เขาสามารถคว้าโควต้าลุยโอลิมปิกที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนได้สำเร็จ และเป็นโอกาสสุดท้ายของเขาในการคว้าเหรียญทอง เพราะกฎของโอลิมปิกจำกัดอายุนักชกไว้ที่ไม่เกิน 34 ปี ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุ 33 ปี กับ 7 เดือน และนอกจากจะคว้าเหรียญทองกลับบ้านได้แล้ว ‘สมจิตร จงจอหอ’ ยังคว้ารางวัลนักชกทรงคุณค่าประจำการแข่งขันมาครองอีกด้วย
เมษายน พ.ศ. 2563 อดีตนักชกฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิก 2008 ได้รับการเลื่อนยศเป็นพันตรี หลังจากรับราชการทหารบกมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่สมัยติดยศนายสิบ ซึ่งหลังจากแขวนนวมก็ได้ตั้งใจเรียนหนังสืออย่างเต็มที่ จนจบปริญญาดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมกับได้รับการเลื่อนขั้นจากนายทหารชั้นประทวน ขึ้นสู่การติดดาวเป็นนายทหารชั้นสัญญาบัตร และมีแผนที่จะเรียนหลักสูตรนายทหารเสนาธิการ เพื่อความก้าวหน้าในอาชีพต่อไป
โปรไฟล์
ชื่อ–สกุล : พันตรี สมจิตร จงจอหอ
ชื่อเล่น : น้อย
เกิด : 19 มกราคม พ.ศ. 2518 (นครราชสีมา)
ประเภทกีฬา : มวยสากลสมัครเล่น
ผลงาน :
● พ.ศ. 2541 เหรียญทอง กรีนฮิลคัพ (ปากีสถาน)
● พ.ศ. 2542 เหรียญทอง ซีเกมส์ (บรูไน)
● พ.ศ. 2544 เหรียญทอง ซีเกมส์ (มาเลเซีย)
● พ.ศ. 2545 เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเซีย (มาเลเซีย)
● พ.ศ. 2545 เหรียญทอง เอเซียนเกมส์ (เกาหลี)
● พ.ศ. 2546 เหรียญทองแดง โกลเด้นเบลท์ (โรมาเนีย)
● พ.ศ. 2546 เหรียญทอง เวิลด์แชมเปียนชิพ (ไทย)
● พ.ศ. 2547 เหรียญทอง ซีเกมส์ (เวียดนาม)
● พ.ศ. 2547 เหรียญทองแดง ชิงแชมป์เอเซีย (ฟิลิปปินส์)
● พ.ศ. 2549 เหรียญเงิน เอเซียนเกมส์ (กาตาร์)
● พ.ศ. 2550 เหรียญทอง มวยทหารโลก (แอฟริกาใต้)
● พ.ศ. 2550 เหรียญทอง ซีเกมส์ (ไทย)
● พ.ศ. 2550 เหรียญเงิน เวิลด์แชมเปียนชิพ (สหรัฐอเมริกา)
● พ.ศ. 2551 เหรียญทอง โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 29 (สาธารณรัฐประชาชนจีน)
ยอดนักชกฮีโร่เหรียญทองโอลิมปิกคนที่ 4 ของไทย ชายผู้เจ็บมาเยอะ!
ระเบิดความมันของสุดย…
สนามมวยลุมพินี ประกา…
This website uses cookies.