เป็นนักกีฬาไทยคนแรกที่คว้าเหรียญรางวัล โดยได้ “เหรียญทองแดง” จากมวลสากล รุ่นไลท์ฟลายเวท ในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 21 ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา ในปี 2519
อีก 8 ปีให้หลัง ทวี อัมพรมหา กระชาก “เหรียญเงิน” มาคล้องคอ จากมวยสากลรุ่น รุ่นไลต์เวลเตอร์เวต ในโอลิมปิก ที่ลอสแอลเจลีส ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2527 เป็นเหรียญเงินเหรียญแรกของไทย
กระทั่งในโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 26 ที่เมืองแอตแลนต้า ประเทศสหรัฐอเมริกา ปี 2539 สมรักษ์ คำสิงห์ นักชกจากขอนแก่น ได้สร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ให้กับวงการกีฬาไทยอีกครั้ง ด้วยการคว้า “เหรียญทอง” มาครอง ในการแข่งขันมวยสากลในรุ่นเฟเธอร์เวต
กล่าวได้ว่านับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา มวยสากล สร้างชื่อมาตลอด กีฬาชนิดอื่นต่างโหมทุ่มกำลังพยายามเต็มที่ ทว่ายังไปไม่ถึงดวงดาว จนถึงกีฬาโอลิมปิก2000 ที่กรุงซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย หรือในปีพ.ศ. 2543 ประวัติศาสตร์เกิดขึ้นอีกครั้งกับวงการกีฬาไทย
เมื่อ “เกษราภรณ์ สุตา” จอมพลังสาวจากอำเภองาว จ.ลำปาง คว้า “เหรียญทองแดง” จากกีฬายกน้ำหนักรุ่น 53 กก.ทำให้สาวแกร่งจากเมืองรถม้าเป็นหญิงไทยคนแรกที่ประสบความสำเร็จในกีฬาโอลิมปิก “วีรสตรียุค 2000”
โอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 “ซิดนี่ย์2000” นักกีฬาไทยประสบความสำเร็จมากมายไม่แพ้ที่ “แอตแลนตา1996” สหรัฐอเมริกา โดยในวาระ 104 โอลิมปิก ทัพนักกีฬาไทยยังได้ 1 เหรียญทอง จาก “อิกคิวซัง” วิจารณ์ พลฤทธิ์ นักชกจากศรีสัชนาลัย ในมวยสากลรุ่นฟลายเวต 51 กก. กับ พรชัย ทองบุราณ ที่ได้เหรียญทองแดง ในรุ่นไลต์มิดเดิ้ลเวต 71 กก.
สู่ยุคปี 2000 ประสบความสำเร็จมากขึ้นต่อเนื่อง เป็นปีอีกปีที่แฟนกีฬาชาวไทยได้ฉลองชัยกับ เหรียญทอง และ เหรียญทองแดง บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคักทั้งในกรุงเทพฯ รวมถึงบ้านเกิดเมืองนอนของ 3 ฮีโร่ คือ ที่อำเภอศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย บ้านเกิดของ วิจารณ์ พลฤทธิ์, ที่อ.งาว จ.ลำปาง บ้านเกิดของจอมพลังสาว เกษราภรณ์ สุตา และอ.กุดข้าวปุ้น จ.อุบลราชธานี ภูมิลำเนาของ พรชัย ทองบุราณ
เปิดบันทึกฮีโร่ 69 ปีโอลิมปิกไทย ตอนที่ 2 ในมหกรรมกีฬาโอลิมปิกยุค2000 ที่นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย สยามกีฬาจะพาไปทำความรู้จักกับ 3 ฮีโร่นักกีฬาไทยกัน
วิจารณ์ พลฤทธิ์ (มวยสากลสมัครเล่น)
ไทยคนที่ 2 คว้า เหรียญทอง โอลิมปิก
เกิด 26 เมษายน 2519 ที่ ต.บ้านตึก อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย โดยเป็นลูกคนที่ 3 ในจำนวนลูกทั้งหมด 4 คนของนายจิ้มและนางทองม้วน พลฤทธิ์ โดยชกมวยครั้งแรกใช้ชื่อว่า “แสนเชิง ลูกเมืองดัง”
ยอดนักชกจากเมืองศรีสัชนาลัยทำให้ชาวไทยได้ร้องเพลงชาติไทยอีกครั้งในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย ในปี 2000 หรือ พ.ศ.2543 แม้ว่าประสบการณ์จะมีน้อยและไม่ใช่ตัวเต็งแต่จากที่เป็นนักชกที่ชาญฉลาดจนได้ฉายาว่า “อิ๊กคิวซัง”
ทำให้ตะลุยฝ่าไปถึงรอบชิงชนะเลิศ พบกับ บูลัต ยูมาดิลอฟ จากคาซัคสถาน ที่ทั้งคู่เคยดวลกำปั้นกันมาก่อนแล้วในการอุ่นเครื่องที่โบนันซ่าเขาใหญ่ก่อนที่ศึกโอลิมปิก 2000 จะเริ่มขึ้น
และครั้งนี้ยอดกำปั้นจากศรีสัชนาลัยโชว์ฟอร์มแกร่งเหมือนเดิมเอาชนะไปสบาย 19-12 คะแน สามารถคว้าเหรียญทองมวยสากลสมัครเล่น ในรุ่นฟลายเวท 51 กิโลกรัม
บันทึกไว้วันที่ 1 ต.ค.2543 เวลา 09.38 น. วิจารณ์ พลฤทธิ์ นักกีฬาไทยคนที่ 2 ที่ได้เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์
พรชัย ทองบุราณ (มวยสากลสมัครเล่น)
“ผมชกมวยไม่ใช่เพื่อเงิน แต่เพื่อให้คนรู้จักจ.อุบลฯบ้านเกิด”
เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2517 ที่ตำบลกาบิน อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี โดยบิดามารดา ชื่อนายสำลี – นางบังอร ทองบูราณ เป็นนักมวยที่ต่อยมวยมาตั้งแต่ 10 ขวบ แต่ “เจ้าหมี” พรชัย ทองบุราณ นั้นเริ่มต้นชกมวยสากลสมัครเล่น ก่อนหันไปชกมวยไทยเมื่ออายุ 17 ปี ในชื่อ “ศักดิ์กิ่งเฟื่อง ศิษย์ บ.ต.”
เมื่อได้เดินทางมาชกในกรุงเทพฯ ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “รณยุทร ศิษย์พงษ์ระวี” จากนั้นกลับมาชกมวยกลสมัครเล่นอีกครั้งจนกระทั่งติดทีมชาติไทยได้เดินทางไปแข่งขันโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่กรุงซิดนี่ย์ ปี 2000
ถูกมองว่าเป็น “ม้านอกสายตา” อย่างไรก็ตามกำปั้นจากเมืองอุบลราชธานี ก็ทะลุเข้าถึงรอบรองชนะเลิศ และปราชัยให้กับ มาริน ไซเมียน นักชกจากโรมาเนีย 16-26 คะแนน หยุดเส้นทางที่ “เหรียญทองแดง” ในรุ่นไลต์มิดเดิ้ลเวท
และเป็นนักชกไทยคนที่ 5 ที่ได้ เหรียญทองแดง ต่อจาก พเยาว์ พูลธรัตน์, ผจญ มูลสัน, อาคม เฉ่งไล่ และ วิชัย ราชานนท์ บันทึกไว้เป็นหนึ่งใน “วีรบุรุษโอลิมปิก”
เกษราภรณ์ สุตา (ยกน้ำหนัก)
วีรสตรีไทยคนแรกคว้าเหรียญโอลิมปิก
เกิดเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2514 เป็นชาวอ.งาว จ.ลำปาง เป็นจอมพลังหญิงไทยที่ประสบความสำเร็จมากมายทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 27 ที่นครซิดนี่ย์ ประเทศออสเตรเลีย เกษราภรณ์ ถือว่าเป็นตัวเต็งในรุ่นน้ำหนัก 58 กก.หญิงคนหนึ่ง
เธอเริ่มต้นกับกีฬายกน้ำหนักเมื่อเรียนจบม.6 ที่วิทยาลัยพลศึกษาจ.เชียงใหม่ ซึ่ง ว่าที่ร้อยตรีศักดิ์ชัย ธิตะจารี เห็นแววจึงชักชวนมาเล่นกีฬายกน้ำหนัก จากนั้นก็ฉายแววเก่งตั้งแต่คว้าเหรียญทองกีฬาวิทยาลัยพลศึกษา, เหรียญเงินชิงแชมป์เอเชีย, เหรียญเงินเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 12 และคว้าแชมป์โลก ที่กรีซ
น่าเสียดายเมื่อมีอาการบาดเจ็บที่หัวเข่ารบกวนทำให้จบผลงานที่ “เหรียญทองแดง “ จากสถิติ สแนตช์ 92.5 กก,/คลีนแอนเจิร์ก 117.5 กก. น้ำหนักรวม 210 กก.
ความสำเร็จครั้งนี้ทำให้ เกษราภรณ์ กลายเป็นวีรสตรีหญิงไทยคนแรกที่ได้เหรียญรางวัลในโอลิมปิกเกมส์ และเป็นนักกีฬายกน้ำหนักไทยคนแรก..ที่ทำสำเร็จ
(อ่านต่อฉบับหน้า)
ระเบิดความมันของสุดย…
สนามมวยลุมพินี ประกา…
This website uses cookies.